วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของการวางแผน

1. ความหมายของการวางแผน
ศาสตราจารย์ มาลัย หวะนันทน์
กล่าวไว้ในหนังสือเรื่องวัตถุประสงค์นโยบาย และแผนว่า การวางแผน คือ กระบวนการขั้นหนึ่งในการบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และนโยบายที่กำหนดไว้แผนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทางวิทยาการ และการวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต แล้วกำหนดวิธีการโดยถูกต้องและมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนเป็นไปโดยเรียบร้อยสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ศาสตราจารย์สมพงศ์ เกษมสิน
สรุปถึงเรื่องการวางแผนว่า เป็นเรื่องของการวินิจฉัย เพื่อเลือกกำหนดวิธีปฏิบัติงานที่เห็นว่าดีที่สุด โดยพิจารณาจากข้อมูล ข่าวสารและกรณีแวดล้อมต่างๆ การวางแผนเป็นการใช้จินตนาการคาดคะเนวิธีการเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อกำหนดเป้าหมายและวางโครงการในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
Scott, B.W.
Scott, B.W. เขียนไว้ใน Long Range Planning in American Industry ว่า การวางแผน คือ กระบวนการวิเคราะห์ ซึ่งรวมถึงการประเมินอนาคตและพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนาสภาวะแวดล้อมของอนาคต การพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และการเลือกแนวดำเนินการระหว่างทางเลือกทั้งหลาย
Earnest Dale
Earnest Dale เขียนในหนังสือ ชื่อ Management Theory and Practice ว่า การวางแผน หมายถึง การที่องค์การได้ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้ แล้วมีการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการซึ่งตัดสินแล้วว่าดีที่สุด
Russell L. Ackoff
Russell L. Ackoff กล่าวไว้ใน A Concept of Corporate Planning ว่า การวางแผนคือ การกำหนดรูปแบบของอนาคตที่ต้องการ แล้วกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
ธงชัย สันติวงษ์
การวางแผนเป็นกระบวนการซึ่งบุคคลหรือองค์การทำการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับงานบางอย่างที่จะกระทำในอนาคต กระบวนการดังกล่าวจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆที่เป็นชุดกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน


อนันต์ เกตุวงศ์
การวางแผน คือการตัดสินใจล่วงหน้าในการเลือกทางเลือกที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์หรือการกระทำ โดยทั่วไปจะเป็นการถามว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ ใครบ้างเป็นผู้กระทำจะกระทำเมื่อใด กระทำที่ไหนบ้าง และกระทำกันอย่างไร
เยเฮช เกิลดอร์
เยเฮช เกิลดอร์ กล่าวว่า “การวางแผนเป็นกระบวนการในการตระเตรียมการตัดสินใจเพื่อที่จะกระทำสิ่งใดๆในอนาคต โดยมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายด้วยวิธีการที่ดีที่สุด หรือให้ประโยชน์สูงสุด”จากตัวอย่างการให้ความหมายของนักวิชาการ จะเห็นว่าการวางแผนเป็นการกำหนดแนวทางการกระทำที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการกระทำ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงาน
โดยสรุป การวางแผน เป็นการนำข้อมูล (สารสนเทศ) ในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้ม (Trends) มาคิดวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการที่ดี และเหมาะสมที่สุด เพื่อการดำเนินการสำหรับอนาคตโดยการพิจารณาวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทรัพยากรที่พอมี รวมทั้งปัญหาที่มี หรือ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
2. ความหมายของการวางแผนงานพัฒนาชุมชน ในกรณีของนักวิชาการ และองค์กรอิสระ
การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อมที่มีขั้นตอนเป็นลำดับ
ก่อนหลัง นั่นคือ การศึกษาชุมชนรดำเนินงานให้มากที่ล้วนให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วม็นปู้รพัฒนาชุมชน ซึ่นวิธีการพัฒนาชุมชนซึ่่คน หน่วยการปกครอง วิวัฒนาการขอ เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ ของชุมชน การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหา การจัดลำดับปัญหาและความต้องการของชุมชน การเตรียมการแก้ไขปัญหาในลักษณะของแผนและโครงการ การนำแผนและโครงการไปดำเนินงาน การประเมินผลงานและการทบทวนเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นตามลำดับ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและส่งผลกระทบต่อกัน และกันได้ ดังนั้น การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จึงต้องมีความรอบคอบ และประการที่สำคัญจะต้อง มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการควบคุมติดตามโครงการและการตรวจสอบประเมินผลงานเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนี้กระบวนการพัฒนาชุมชนในทุกขั้นตอนยังมีความสัมพันธ์กับประชาชนในชุมชนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการนำเทคนิคทางด้านการบริหารงานและการประสานงานมาใช้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งนับได้ว่ากระบวนการพัฒนาชุมชน
เป็นกระบวนการที่ต้องนำทั้งศาสตร์และศิลปะมาใช้ในการดำเนินการ จึงจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การพัฒนาชุมชนเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่นำทฤษฎีในสาขาวิชาต่างๆ ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ทฤษฎีเป็นข้ออธิบายหรือคาดคะเนปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง อันเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ และยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการคาดคะเนหรือทำนายปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ถูกต้องอีกด้วย ส่วนทฤษฎีสังคมศาสตร์เป็นข้ออธิบายหรือคาดคะเนปรากฏการณ์ของบุคคล ชุมชน สังคม และวัฒนธรรม ทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทฤษฎีสังคมศาสตร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนมาก เพราะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาชุมชน ได้ทุกขั้นตอน ทำให้การพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามที่ต้องการอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม
จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก การเติบโตของเมืองที่ไร้ทิศทางและขาดการวางแผน ก่อให้เกิดความเจริญที่ไม่สมดุล ชาวชนบทมีความยากลำบากในการทำมาหากิน ประกอบกับในเมืองเป็นแหล่งงานทั้งงานก่อสร้าง แบกหาม แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานบริการ รับจ้างทั่วไป ตลอดจนค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น ดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ชาวชนบทจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่เมือง เพื่อมาเป็นแรงงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ในขณะที่รัฐไม่มีแผนรองรับในเรื่องของที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และบริการพื้นฐานแก่คนกลุ่มนี้ส่งผลให้เกิดชุมชนแออัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก เพราะปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงและซับซ้อน ขึ้นเรื่อย ๆ จำต้องได้รับการแก้ไขทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อม
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้เกิดการรวมตัวของชาวชุมชนในลักษณะของกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมออมทรัพย์ ธุรกิจชุมชน การพัฒนา ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม สวัสดิการ เป็นต้น เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีโดยมีหน่วยงานพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อทำการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถสร้างพัฒนาการต่าง ๆ และรูปแบบการพัฒนาที่ชาวชุมชนเป็นแกนหลักได้อย่างเป็นรูปธรรม
ก่อเกิดมูลนิธิชุมชนเมือง
ในปี 2535 เครือข่ายของคนจนในเมืองร่วมมือกับนักพัฒนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันให้เกิด สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (พชม.) ขึ้น เป็นองค์กรอิสระ สังกัดการเคหะแห่งชาติ โดยมีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแออัดในเมืองให้มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การดำเนินงานของ พชม. ใช้การออมทรัพย์และสินเชื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งพัฒนาการที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดองค์กร การเงินในชุมชนที่พัฒนาเป็นเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ชาวชุมชนได้มีโอกาสในการบริหารองค์กร บริหารสินเชื่อ พัฒนาเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งในภาระกิจเหล่านี้ พชม. ได้ประสานหน่วยงานพัฒนาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกันทำงาน อย่างไรก็ตาม พชม. ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น กฎระเบียบบางอย่างของทางราชการ ทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว ดังนั้นเพื่อ ผสมผสานบทบาทที่หลากหลาย ในการร่วมกันสนับสนุนกระบวนการพัฒนาชุมชนแออัดและคนจนในเมืองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและมีศักยภาพในการสร้างสรรค์สังคมต่อไป
“มูลนิธิชุมชนเมือง” จึงก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 เพื่อทำงานร่วมกับ พชม.
ในปัจจุบันขบวนการพัฒนาการภาคประชาชน มีการขยายตัวกว้างขวางขึ้นมีการเชื่อมโยงการพัฒนาภาคเมืองและชนบทเข้าด้วยกัน อันนำไปสู่การสร้างพลังการพัฒนาที่เข้มแข็งขององค์กรชุมชนทั้งภาคเมืองและชนบท จึงได้มีการเปลี่ยนสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง และตั้งเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ขึ้นแทนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมบทบาทการพัฒนา ทั้งภาคเมือง และชนบทให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน มูลนิธิชุมชนเมืองจึงขยายขอบเขตการดำเนินงาน ครอบคลุมทั้งภาคเมืองและชนบท
3.ประโยชน์ของการวางแผนมีอะไรบ้าง
1. ช่วยค้นหาหรือชี้ให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น 2. ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพกระบวนการตัดสินใจ 3. ช่วยในการปรับทิศทางอนาคตขององค์การ 4. ช่วยให้เเต่ละบุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 5. ช่วยเหลือผู้บริหารให้สามารถมั่นใจที่จะนำองค์การให้อยู่รอดได้
4. การวางแผนมีกี่ประเภท อะไรบ้างอธิบายโดยรวม
แต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของแผนใช้เกณฑ์ 3 อย่างคือ แบ่งตามระยะเวลา แบ่งตามขอบเขตของกิจการ และแบ่งตามการนำไปใช้
1. การแบ่งตามระยะเวลา (Time horizon) การแบ่งตามเกณฑ์นี้ใช้วิธีง่ายๆ 3 ประเภทคือ แผนระยะสั้น (Short-range plan) หมายถึง แผนที่ครอบคลุมเวลาการใช้แผนไม่เกิน 1 ปี แผนระยะกลาง (Intermediate-range plan) เป็นแผนที่ครอบคลุมเวลา 1 ถึง 2 ปี และแผนระยะยาว (Long-range plan) คือ แผนที่มีระยะเวลาการใช้แผนครอบคลุมเวลาเกิน 2 ปีขึ้นไปจนถึง 5 ปีหรือเกินกว่านั้น การแบ่งตามระยะเวลาทำให้มีความแตกต่างกันในเรื่องต่างๆ เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับแผนระยะสั้นจะต้องชัดเจน ขณะที่วัตถุประสงค์สำหรับแผนระยะยาวจะเปิดกว้างขวางมากกว่า การมีส่วนร่วมในการวางแผนก็แตกต่างกันกล่าวคือ หากเป็นแผนระยะยาวผู้บริหารระดับสูงจะเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นแผนระยะสั้นผู้บริหารระดับกลางและระดับล่างเข้ามามีส่วนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารทุกระดับจะต้องเข้าใจและร่วมกันในการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนระยะยาวด้วยเช่นกันเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งแผนระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความสับสนและขัดกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในองค์การ
2. การแบ่งตามขอบเขตของกิจกรรมที่ทำ (scope of activity) การแบ่งตามเกณฑ์นี้จะแยกแผนออกเป็น 2 ประเภทคือ แผนกลยุทธ์ (strategic plan) กับแผนดำเนินงาน (operational plan) แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่ทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการในระยะยาว และรวมเอากิจกรรมทุกอย่างขององค์การ ผู้บริหารระดับสูงที่วาแผนกลยุทธ์จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของทั้งองค์การแล้วตัดสินใจว่าจำทำอย่างไรและจะจัดสรรทรัพยากรอย่างไรจึงจะทำให้องค์การสำเร็จตามเป้าหมายนั้น จะต้องใช้เวลาในการกำหนดกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละหน่วยงานรวมตลอดทั้งทิศทางการดำเนินงานที่ไม่เหมือนกันให้อยู่ในแนวดียวกัน การติดสินใจที่สำคัญของแผนกลยุทธ์ก็คือการเลือกวิธีการในการดำเนินงาน และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เหมาะสมเพื่อที่จะนำพาองค์การให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ แวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แผนดำเนินงานเป็นแผนที่กำหนดขึ้นมาใช้สำหรับแต่ละกิจกรรมโดยเฉพาะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมซึ่งเท่ากับเป็นแผนงานเพื่อให้แผนกลยุทธ์บรรลุผลหรือเป็นการนำแผนกลยุทธ์ไปใช้นั่นเอง แผนดำเนินงานที่แยกเป็นแต่ละกิจกรรมก็ได้แก่ แผนการผลิต แผนการเงิน แผนการตลาด แผนทรัพยากรมนุษย์ และแผนอุปกรณ์ เป็นต้น
แผนการผลิต (production plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการและเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้กับการผลิตสินค้าและบริการขององค์การ
แผนการเงิน (financial plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินที่นำไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การ
แผนการตลาด (marketing plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการขององค์การ
แผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกันการจัดทำ การคัดเลือก และการบรรจุคนให้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ
แผนอุปกรณ์ (facilities plan) เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์และการวางผังที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในองค์การ
3. การแบ่งตามการนำไปใช้ (frequency of use) การแบ่งตามเกณฑ์นี้แยกเป็น 2 ประเภทคือ แผนที่ใช้ครั้งเดียว (single-use plan) กับแผนที่ใช้ประจำ (standing-use plan) แผนที่ใช้ครั้งเดียว หมายถึงแผนที่หมดไปกับการใช้หนึ่งครั้งแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานนั้น การใช้แต่ละครั้งถือตามเวลา เช่น 3 เดือน 1 ปี เป็นต้น ตัวอย่างของแผนที่ใช้ครั้งเดียวคือ งบประมาณและโครงการ งบประมาณเป็นแผนกำหนดการใช้ทรัพยากรให้กับกิจกรรมแต่ละอย่างภายในเวลาที่กำหนด งบประมาณแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ งบประมาณคงที่ (fixed budget) งบประมาณยืดหยุ่น (flexible budget) และงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budget) งบประมาณที่จัดสรรทรัพยากรให้จำนวนคงที่แน่นอนกับโครงการหรือหน่วยงานตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ะจใช้เกินกว่าจำนวนที่จัดสรรไม่ได้ เช่น กำหนดเงินจำนวน 20,000 บาทในการซื้อเครื่องจักรภายใน 1 ปี
งบประมาณยืดหยุ่นจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมตามสัดส่วนของการทำกิจกรรมนั้นๆ จำนวนเงินงบประมาณสัมพันธ์กับกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นวงเงินที่เพิ่มขึ้นได้แล้วแต่ระดับของแต่ละกิจกรรม เช่น การกำหนดให้ใช้เงินเพิ่มขึ้นในการจ้างคนทำการผลิตหากผลิตได้จำนวนผลผลิตเกินกว่าจำนวนที่กำหนด งบประมาณฐานศูนย์เป็นการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมหรือโครงการโดยถือเสมือนว่ากิจกรรมหรือโครงการนั้นเกิดขึ้นใหม่ โดยถือว่าแต่ละกิจกรรมหรือโครงการใช้ทรัพยากรนั้นหมดไปแม้ว่าจะมีทรัพยากรเหลือก็ให้ถือว่าไม่มีหรือศูนย์ เมื่อเริ่มโครงการใหม่ก็มีการจัดสรรทรัพยากรขึ้นมา การจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ก็เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของงบประมาณเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด แยกออกจากกันในแต่ละงวดของงบประมาณ
โครงการ (project) เป็นแผนทีใช้ครั้งเดียวอย่างหนึ่งซึ่งระบุกิจกรรมต่างๆ ทุกอย่างที่ต้องนำไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันตามระยะเวลาตามเป้าหมาย และทรัพยากรที่ใช้ โครงการเน้นที่การบริหารเวลา หมายความว่า ต้องทำให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังว่ากิจกรรมอะไรทำก่อน กิจกรรมอะไรที่ต้องทำต่อมาตามลำดับจนทุกอย่างสำเร็จสมบูรณ์ตามเวลา
แผนที่ใช้ประจำเป็นแผนที่ใช้ซ้ำๆ กันตลอดเวลา เมื่อใช้ไปแล้วก็กลับมาใช้อีกซึ่งไม่เหมือนกับแผนที่ใช้ครั้งเดียวอย่างงบประมาณ เมื่อใช้แล้วก็หมดไปหรือจบโครงการ หากจะใช้อีกก็ต้องตั้งงบประมาณขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นคนละแผนกัน แต่แผนประจำเกิดขึ้นซ้ำๆ กันอย่างเช่น นโยบาย กระบวนการปฏิบัติงาน และกฎเกณฑ์ เป็นต้น นโยบาย (policy) เป็นคำแถลงอย่างกว้างๆ สำหรับใช้เป็นแนวในการบริหารงานหรือแนวทางการทำงานซึ่งผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติสามารถใช้ดุลพินิจตัดสินใจได้ นโยบายจะกำหนดขอบเขตหรือแนวทางในการตัดสินใจไม่ใช่เป็นการกระทำว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเน้นเฉพาะเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น นโยบายของบริษัท McDonald’s ระบุว่าจะไม่ใช้สัมปทานแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของร้านอาหาร fast-food อยู่ก่อนแล้ว เป็นต้น
กระบวนการปฏิบัติงาน (procedure) เป็นการระบุขั้นตอนของการกระทำว่าจะกระทำอะไรก่อนหลังอย่างไรโดยไม่ต้องใช้ดุลยพินิจตัดสินใจ กระบวนการเป็นขั้นตอนการทำงาน หรือบอกวิธีทำงานไม่ใช่การใช้ความคิดซึ่งมีรายละเอียดแน่นอนว่าต้องทำกิจกรรมอะไรไว้ชัดเจน และมักจะข้ามหน่วยงานหรืออยู่ในหน่วยงานเดียวก็ได้ เช่น กระบวนการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าอาจต้องผ่านฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายผลิต และฝ่ายส่งของ ต้องผ่านหลายหน่วยงาน หรืออาจผ่านฝ่ายเดียวก็ได้ เช่น บริษัท McDonald’s ระบุขั้นตอนในการปรุง Big Macs ว่าจะปรุงอย่างไร จะต้องผสมอย่างไร หรืออบไว้ในเตาเป็นเวลาเท่าไร เป็นต้น
กฏเกณฑ์หรือข้อบังคับ (rule and regulation) เป็นแผนประจำที่แคบและชัดเจนที่สุด ซึ่งระบุว่าอะไรต้องกระทำหรือไม่ต้องกระทำ เป็นการบอกถึงการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ กันโดยไม่ต้องอาศัยการใช้ดุลพินิจเลย มีความแตกต่างกับกระบวนการการปฏิบัติงานตรงที่ไม่ต้องมีลำดับเวลาก่อนหลังของการกระทำ กระบวนการการปฏิบัติงานเป็นเสมือนลำดับของกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการปฏิบัติงานก็ได้ เช่น ขณะปฏิบัติงานห้ามสูบบุหรี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงาน หรือถ้าบริษัท McDonald’s มีกฎเกณฑ์ว่า ห้ามลูกค้าใช้โทรศัพท์ของบริษัท ก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงาน
ในแง่ของการเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนมากน้อยเพียงใดอาจแยกได้คือ ผู้บริหารระดับสูงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนระยะยาว แผนกลยุทธ์และแผนที่ใช้ประจำมาก ผู้บริหารระดับกลางจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนดำเนินงานแผลแผนที่ใช้ประจำมาก ส่วนผู้บริหารระดับล่างจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนระยะสั้นและแผนที่ใช้ครั้งเดียวมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น